วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต (Internet)

 

ความหมายของอินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1.
อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2.
เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
Internet)  หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (
Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและ ข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (
ประวัติความเป็นมา
          อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา        
          ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น 
          ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
          ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
          ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
          ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
          ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
วิธีการทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การติดต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถติดต่อกันได้โดยอาศัยโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งในระดับกายภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะใช้หมายเลข ไอพีแอดเดรสในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายซึ่งหมายเลขไอพีจะเป็นเลขขนาด 32 บิต เครื่องแต่ละเครื่องจะต้องมีหมายเลขไอพีที่ไม่ซ้ำกันเลย สำหรับผู้ใช้สามารถใช้ระบบชื่อโดเมน อ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์แทนหมายเลขไอพีก็ได้ เนื่องจากสามารถจดจำได้ง่ายกว่าหมายเลขไอพี
โครงสร้างแบบ ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP model) เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล
ลำดับชั้นของโปรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต
ลำดับชั้นของโปรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต มีลำดับชั้นที่น้อยกว่าโครงสร้างลำดับชั้นของโอเอสไอ โดยในโอเอสไอมีลำดับชั้นของโปรโตคอลทั้งหมด 7 ชั้น แต่ในระบบอินเทอร์เน็ตมีทั้งหมดเพียง 4 ชั้นเท่านั้น

4
ชั้นการประยุกต์ใช้งาน
(application layer)
เช่น HTTP, FTP, DNS เป็นต้น
3
ชั้นขนส่ง
(transport layer)
เช่น TCP, UDP, RTP เป็นต้น
2
ชั้นอินเทอร์เน็ต
(Internet layer)
เช่น ไอพี
1
ชั้นการเชื่อมต่อ
(Link layer)
เช่น Ethernet, Wi-Fi เป็นต้น

ชั้นการเชื่อมต่อ
ชั้นการเชื่อมต่อ หรือ Link layer สามารถเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นลำดับชั้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตโดยตรง แต่เป็นระบบพื้นฐานของการเชื่อมต่อที่ระบบอินเทอร์เน็ตใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย
หน้าที่ของชั้นนี้สำหรับการส่งข้อมูล เนื่องจากตัวแบบ ทีซีพี/ไอพี ไม่ได้กำหนดมาตรฐานในข้อตอนนี้อย่างมากนัก กำหนดไว้เพียงว่าให้สามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุเนื้อหาหน้าที่ที่ชัดเจนได้ ดังนั้นจึงอาจจะยกระบบของ โครงสร้างแบบ โอเอสไอทั้งสองชั้นแรกมาซึ่งได้แก่การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมก่อนที่จะส่งไปตามสายส่งไปยังที่หมายปลายทาง ซึ่งได้แก่การจัดเตรียมPacket Header การควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการจัดส่ง เช่น การเชื่อมต่อกับNetwork card และการใช้งาน Device Driver หน้าที่สำหรับการรับข้อมูลคือ คอยรับกรอบของข้อมูลที่ได้รับ นำข้อมูลส่วนหัวออกมา และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังชั้นเครือข่าย
ชั้นอินเทอร์เน็ต
ชั้นอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Layer เทียบได้กับชั้นที่ 3 ซึ่งคือ Network Layer ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ส่งข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง โดยหาเส้นทางที่ข้อมูลจะใช้เดินทางผ่านเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งจนกระทั่งถึงปลายทางโปรโตคอลที่ใช้ในชั้นนี้คือ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือ ไอพี ทำหน้าที่เปรียบเสมือนซองจดหมายซึ่งระบุถึงที่อยู่ของต้นทางและปลายทาง โดยมีบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่งจดหมายนั้นผ่านกรมการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่าง ๆ จนถึงจุดหมายปลางทาง ที่อยู่บนซองจดหมายในอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลเรียกว่า หมายเลขไอพี ที่ทำการไปรษณีย์คือเราเตอร์ที่ทำหน้าที่ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อส่งข้อมูลไปตามสายส่งจนกระทั่งถึงปลายทาง
ชั้นขนส่ง
ชั้นขนส่ง หรือ Transport layer เทียบได้กับชั้นที่ 4 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ เป็นชั้นที่มีหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ติดต่อกัน ซึ่งอาจแบ่งได้สองลักษณะคือ บริการการส่งข้อมูลแบบที่สถาปณาการเชื่อมต่อ และบริการการส่งข้อมูลแบบไม่สถาปณาการเชื่อมต่อ และจัดส่งข้อมูลไปยังapplicationที่ต้องการข้อมูล
โปรโตคอลที่นิยมใช้ในชั้นนี้ได้แก่ TCP, UDP, RTP
ชั้นการประยุกต์ใช้งาน
ชั้นการประยุกต์ใช้งาน หรือ Application layer เทียบได้กับชั้นที่ 5 ถึง 7 ในโครงสร้างแบบ โอเอสไอ จะครอบคลุมบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัส การเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และเป็นชั้นที่โปรแกรมประยุกต์ใช้งานโดยตรง โดยโปรโตคอลที่อยู่บนชั้นนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับประเภทของโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง เช่น โปรแกรมอีเมลใช้โปรโตคอล SMTP สำหรับส่งอีเมล ใช้โปรโตคอล POP3 สำหรับรับและเรียกดูอีเมล, ส่วนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ใช้โปรโตคอล HTTP สำหรับเรียกดูเว็บเพจ เป็นต้น
ขั้นตอนการรับส่งข้อมูลผ่านโครงสร้างแบบทีซีพี/ไอพี
โปรแกรมประยุกต์จะส่งผ่านข้อมูลซึ่งก็คือโปรโตคอลที่ตนใช้งานเช่น HTTP หรือ SMTP ผ่านไปยังลำดับชั้นต่างๆของ โครงสร้างแบบ TCP/IP เริ่มต้นที่ชั้นขนส่ง(Transport Layer) ซึ่งโปรแกรมประยุกต์จะต้องกำหนดหมายเลขท่า(Port Number)ของตนว่าจะใช้หมายเลขใด เพื่อให้ข้อมูลที่ใช้รับส่งสามารถส่งถึงโปรแกรมประยุกต์ที่เรียกใช้งานได้ถูกต้อง ที่ชั้นนี้ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเรียกว่า Segment จากนั้นจะส่งผ่านไปยังชั้นเครือข่าย(Internetwork Layer) โดยในชั้นนี้จะมีหมายเลขไอพี(IP address) เป็นที่อยู่ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโปรแกรมประยุกต์อยู่ ข้อมูลจาก Segment จะถูกห่อหุ้มและส่งในรูปแบบของ Packet โดยที่ Packetต่างๆจะถูกกำหนดเส้นทางที่จะเริ่มต้นส่งออกไปยังระบบเครือข่าย ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกกำหนดอยู่ในส่วนหัวของ Packet เรียกว่า Packet Header สุดท้ายข้อมูลจะถูกส่งไปชั้นสุดท้ายคือชั้นการเชื่อมต่อ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆภายในเครือข่าย โดยแต่ละจุดเชื่อมต่อจะเรียกว่าโหนด(node) ข้อมูลจะถูกส่งไปยังโหนดต่างๆที่มีการเชื่อมต่อจากโหนดเริ่มต้นไปยังโหนดต่อไปและต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงโหนดปลายทาง

สำหรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี หลักๆ
วิธีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต 2 วิธีการ คือ
การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access)การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ (Dial-up Access)การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Internet Access) ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลัก โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น เกตเวย์(Gateway) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบนี้ เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่การรับ-ส่งข้อมูลจะทำได้โดยตรง ทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง
การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ (Dial-up Access) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้าน หรือที่ทำงานทั่วไป โดยใช้ MODEM ในการแปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลไปกับสายโทรศัพท์ได้ ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องมาจากจะเสียค่าบริการก็ต่อเมื่อมีการหมุน MODEM เท่านั้น


IP Address คืออะไร?
IP Address
คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address?
  2. Computer Address
การแบ่งขนาดของเครือข่าย
เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
  1. Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
  2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
  3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข
* nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address
หมายเลขต้องห้าม สำหรับ IP Address
เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
  • Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
  • Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
  • Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน
  1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง?
  2. 0.0.0.0?

โดเมน  (Domain Name)
ชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ
เช่นเว็บไซต์ของสคูลเน็ต มีหมายเลข IP คือ 203.185.64.4 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.school.net.th ซึ่งก็คือ "ชื่อโดเมน" นั่นเอง
ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Server
ชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center"
Top level domain มีหน่วยงานที่ดูแลคือ INTERNIC (International Network Information Center) ซึ่งได้แบ่ง Top level domain ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- Generic Domain
คือกลุ่มโดเมนที่อยู่ในอเมริกา (เนื่องจากระบบนี้เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ในอเมริกา แต่ต่อมาได้ขยายสู่ทั่วโลก) โดเมนเหล่านี้จะบ่งบอกถึงลักษณะการดำเนินการขององค์กร คือ
ชื่อย่อโดเมน
ประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา
com
commercial, company : สำหรับบริษัททั่วๆ ไป
edu
educational institution : สำหรับสถาบันการศึกษา
gov
government : สำหรับหน่วยงานของรัฐบาล
int
international : สำหรับองค์กรระหว่างประเทศ
mil
military : สำหรับหน่วยงานทหาร
net
service provider, network : สำหรับองค์กรที่ดำเนินงานด้านเครือข่าย
org
nonprofit organization : สำหรับองค์กรอื่น ๆ

- Country Domain คือกลุ่มของโดเมนที่เป็นชื่อย่อของแต่ละประเทศ เช่น uk คือโดเมนสำหรับ อังกฤษ และ
.jp
คือ โดเมนสำหรับญี่ปุ่น หรือ th สำหรับประเทศไทย ในแต่ละประเทศก็จะมีหน่วยงานจัดการโดเมนภายใต้โดเมน
ประเทศตน สำหรับโดเมน th ก็จะมี THNIC (Thailand Network Information Center) เป็นผู้ดูแล
 
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
 เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน
web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (
web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
·         Internet Explorer
·         Mozilla Firefox
·         Google Chrome
·         Safari
ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
-
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
-
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
-
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
มหาวิทยาลัยมหิดล
-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
-
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
-
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
-
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้
 

ประโยชน์ของอินเตอร์
          สายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล
โทษของอินเตอร์เน็ต
                คือ อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่กว้างขวาง ดังนั้น จึงเป็นเป้าหมายของ นักก่อกวน นักต้มตุ๋น และอาชญากร ปัญหาของอินเทอร์เน็ต ที่พบบ่อย ๆ คือ ใช้ในการ ปล่อยข่าว ให้ร้ายป้ายสี โจมตีบุคคลอื่น ใช้เป็นสถานที่ เล่นการพนัน ให้สมาชิกเล่นการพนัน จากบ้านโดยตรง ใช้เป็นเครื่องมือ บ่อนทำลาย ข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ใช้หลอกลวง และสร้างความยุ่งเหยิง ให้ผู้อื่น โดยทำเป็น จดหมายลุกโซ่ หรือไวรัส เป็นต้น
แนวโน้มอินเตอร์เน็ตไทยในอนาคต 
1.คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องส่งหรือรับสารแทนอุปกรณ์อื่นๆ
2.รูปแบบการสื่อารจะเปลี่ยนไป(มาตรฐานการสื่อสารในอนาคต)เส้นแบ่งระหว่างความเป็นสื่อสาธารณะ กับสื่อส่วนตัวจะเปลี่ยนไป 
3.แหล่งธุระกิจที่ใหญ่ที่สุด 
4.ระบบการศึกษาเปลี่ยนไป
5.เปลี่ยนวิถีการเป็นอยู่ของผู้คนในอนาคต(การทำงาน การติดต่อสื่อสาร การศึกษาที่ไฮเทคยิ่งขึ้น การตลาด)
6.การเหลื่อมล้ำส่วนกลางและภูมิภาคจะเปลี่ยนไป
 7.กลไกลการควบคุมของรัฐบาลจะเปลี่ยนไป โดยกฎหมายจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายฉบับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น